แค่บล็อกเล็กๆเกี่ยวกับ กล้อง DSLR
RSS icon Home icon
  • วิธีเช็ค front/back focus

    Posted on พฤศจิกายน 2nd, 2009 kke No comments

    สิ่งสำคัญที่สุดในการถ่ายภาพให้ชัดก็คือการปรับ focus ได้ถูกต้อง

    ซึ่งกล้องและเลนส์สมัยนี้มีระบบ auto focus มาด้วย แต่ถ้ากล้องกับเลนส์เรา focus แล้วไม่ถูกต้องล่ะ เราจะเช็คได้อย่างไร คือเมื่อเรา focus ไปยังจุดที่ต้องการให้ชัด แต่กล้องปรับโฟกัสคลาดเคลื่อนไปเล็กน้อยทำให้จุดที่ชัดจริงๆแล้วเป็นระยะที่ตื้นหรือลึกไปจากจุดที่เราต้องการ ทำให้ภาพเบลอ อาการนี้เรียกว่าอาการ front/back focus นั่นเอง

    หากถ่ายแล้วภาพชัดมาทางด้านหน้าใกล้กว่าจุดที่เราโฟกัสเรียกว่า front focus
    หากถ่ายแล้วภาพชัดไปทางด้านหลังไกลกว่าจุดที่เราโฟกัสเรียกว่า back focus

    วิธีทดสอบนั้นก็คือการ focus ไปยังจุดๆหนึ่งแล้วถ่ายภาพออกมา(โดยตั้งบนขาตั้งกล้อง)แล้วดูว่าภาพที่ถ่ายชัดตรงกลางที่จุดที่เราโฟกัสหรือว่าคลาดเคลื่อนไปแค่ใหน ซึ่งการถ่ายภาพทั่วไปคงเช็คได้ยาก การจะเช็คนั้นจะใช้วิธีถ่ายกระดาษ chart เอียง 45 องศา

    แบบง่ายๆที่มักทำกันก็คือ

    1. นำกระดาษ test chart วางบนพื้นราบ
    2. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องให้เอียงทำมุม 45 องศากับกระดาษ
    3. ปรับค่า f ให้กว้างที่สุด(เลขน้อย)
    4. ซูมเข้าไปใกล้ที่สุด หรือถ้าเป็นเลนส์ tele ก็อาจจะซูมพอประมาณ
    5. ขยับขาตั้งให้ระยะห่างจากกระดาษได้ภาพพอเหมาะ โดยยังเอียง 45 องศา
    6. โฟกัสไปที่จุดกลางกระดาษบรรทัดที่เป็นเลข 0 (ปรับใช้ focus ที่จุดกลาง)
    7. ถ่ายภาพออกมาแล้วดูว่าระยะชัดค่อนไปทางใหน

    วิธีนี้เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วไม่ต้องการอะไรมากแค่พิมพ์ออกมาแล้วก็ถ่ายได้เลย แต่ยังเป็นวิธีที่คลาดเคลื่อนเล็กน้อยเนื่องจากการ focus ของกล้องจะใช้ pixel หลายๆจุดในระนาบเมื่อเรา focus ไปยังกระดาษที่เอียงจึงทำให้คลาดเคลื่อนได้ วิธีที่แนะนำให้ใช้ทดสอบคือ

    1. นำกระดาษ test chart มาตัดเอาเฉพาะ scale ด้านใดด้านหนึ่งแล้วแปะลงบนวัสดุแข็งเช่นกระดาษลังหรือ future board ตัดให้พอเหมาะ
    2. หาวัตถุสีสว่างที่มีพื้นเรียบตั้งฉากกับพื้นมาวางเป็นแบบเพื่อ focus
    3. นำ test chart ที่เตรียมไว้มาวางด้านข้างวัตถุในข้อ 2 โดยให้เอียง 45 องศา และขยับให้เลข 0 ตรงกับระนาบของวัตถุ
    4. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องให้ได้ระดับกับพื้น (ไม่ต้องเอียง)
    5. ปรับค่า f ให้กว้างที่สุด(เลขน้อย)
    6. ซูมเข้าไปใกล้ที่สุด หรือถ้าเป็นเลนส์ tele ก็อาจจะซูมพอประมาณ
    7. ขยับขาตั้งให้ระยะห่างจากกระดาษได้ภาพพอเหมาะ
    8. โฟกัสไปที่วัตถุ โดยใช้ focus จุดกลาง ในตำแหน่งใกล้ๆขอบด้านที่ติดกับ test chart ที่อยู่ด้านข้าง
    9. ถ่ายภาพออกมาแล้วดู test chart ว่าระยะชัดค่อนไปทางใหน
  • การเลือกซื้อกล้อง

    Posted on เมษายน 11th, 2009 kke No comments

    ปัญหาโลกแตกคำถามแรกก่อนที่จะมีกล้อง หากเลือกซื้อกล้อง DSLR ก็จะมีคำถามโลกแตกคำถามที่สองตามมาคือ การเลือกซื้อเลนส์

    ก่อนอื่นมาแบ่งประเภทกล้องกันก่อน (เอาเฉพาะ Digital นะครับ)

    1. Compact ก็คือกล้องแบบตัวเล็กๆกระทัดรัดพกพาสะดวก
      ข้อดี: ขนาดเล็ก พกพาง่าย ราคาถูก (บางรุ่นก็ไม่ถูกซักเท่าไหร่)
      ข้อเสีย: คุณภาพของภาพสู้กล้องรุ่นใหญ่ไม่ได้
      ตัวอย่าง: Canon IXUS
    2. DSLR-Like คือกล้องที่หน้าตาคล้ายๆ DSLR แต่เปลียนเลนส์ไม่ได้
      ข้อดี: คุณภาพของภาพที่ได้คมชัด แต่ยังไม่เทียบเท่า DSLR
      ข้อเสีย: ขนาดใหญ่กว่ากล้อง Compact
      ตัวอย่าง: Canon G10
    3. DSLR คือกล้องที่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ ซึ่งยังมีแบ่งออกเป็นหลายระดับตามราคา
      ข้อดี: สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ คุณภาพของภาพคมชัดมาก ยิ่งเลนส์ดีก็ยิ่งชัด
      ข้อเสีย: ขนาดใหญ่พกพาลำบาก ราคาสูง ซื้อมาแล้วจะเกิดกิเลสให้ต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่มอีกหลายอย่างเช่น Filter แฟลช เลนส์
      ตัวอย่าง: Canon 1000D
    4. ประเภทอื่นๆ เช่นกล้องในมือถือ webcam เป็นต้น

    ซื้อกล้องแบบใหนดี

    อย่างที่บอกไปว่าค่อนข้างจะเป็นคำถามโลกแตกและเป็นคำถามยอดฮิตซึ่งจริงๆแล้วตัวคุณเองจะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดว่าจริงๆแล้วต้องการซื้อมาเพื่ออะไร อย่าไปเชื่อคนอื่นให้มาก และดูงบประมาณของคุณด้วย

    กล้อง Compact เป็นกล้องขนาดเล็กพกพาสะดวก เหมาะสำหรับใช้ถ่ายภาพทั่วไปใช้เป็นกล้องในครอบครัว คุณภาพของภาพเป็นที่ยอมรับได้ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการพกกล้องไปด้วยทุกหนแห่ง หรือมีไว้ถ่ายภาพในโอกาสต่างๆเมื่อต้องการ

    กล้อง DSLR-Like จะเหมาะกับคนที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพของภาพที่ได้จากกล้อง โดยไม่สนขนาดกล้องที่ใหญ่ขึ้นมาบ้างพอสมควร

    กล้อง DSLR เหมาะกับคนที่ต้องการภาพคุณภาพเยี่ยม ปรับแต่งการถ่ายภาพได้ตามต้องการ สามารถเพิ่มแฟรชภายนอกได้ เปลี่ยนเลนส์ได้หลากหลายตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเลนส์มุมกว้างเพื่อถ่ายภาพวิว (Landscape) หรือเลนส์ปกติถ่ายภาพทั่วไป หรือเลนส์ไวแสงถ่ายภาพบุคคล (Portrait) หรือเลนส์เทเล(Telephoto)ถ่ายภาพระยะไกลไม่ว่าจะเป็นภาพนกหรือกีฬา ทั้งยังถอดเปลี่ยนได้ตามสถานะการต่างๆ